ข้อดีของ HVDC ที่เหนือกว่า HVAC ของ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

เหตุผลสำคัญที่สุดสำหรับการเลือกใช้ HVDC มากกว่าใช้ HVAC ก็คือ HVDC ประหยัดกว่า ถึงแม้ว่าตัวแปลง AC/DC จะมีราคาแพงมาก แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิลจะน้อยกว่ามาก HVDC ใช้เคเบิลน้อยกว่า เพราะไม่ต้องมี 3 สาย 3 เฟสแบบ AC สายเคเบิลก็เล็กกว่า เพราะกระแสไหลตลอดพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ ไม่มี skin effect เหมือน AC ที่กระแสไหลที่ผิวของตัวนำเท่านั้น

ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าและรายละเอียดการก่อสร้าง, ความเสียหายที่เกิดในการส่งแบบ HVDC จะมีประมาณ 3.5% ต่อ 1,000 กิโลเมตร, ซึ่งเป็นน้อยกว่าความเสียหายที่เกิดในระบบส่งกำลัง HVAC

HVDC สามารถถ่ายโอนพลังงานระหว่างเครือข่าย AC หลายเครือข่าย กระแสส่วนเกินในระบบหนึ่งสามารถถูกควบคุมโดยอัตโนมัติเพื่อให้การสนับสนุนเครือข่ายอื่นได้ในช่วงมีปัญหาบางอย่าง และไม่มีความเสี่ยงเมื่อเจอปัญหาระบบส่งพลังงานที่ล่มในระบบเครือข่ายหนึ่งจะนำไปสู่​​การล่มในอีกระบบหนึ่ง

เมื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและประโยชน์ทางเทคนิคที่รวมกันแล้ว ระบบ HVDC จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมต่อแหล่งพลังงานที่ถูกติดตั้งอยู่ห่างไกลจากโหลดหลักมาก

การนำเทคโนโลยีการส่งด้วย HVDC ที่ได้ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดในปัจจบัน

  • การส่งพลังงานด้วยสายเคเบิลใต้น้ำ (เช่น สายเคเบิล 250 กิโลเมตรในทะเลบอลติกระหว่างสวีเดนและเยอรมนี, สายเคเบิล NorNed 580 กม ระหว่างนอร์เวย์และเนเธอร์แลนด์, และ 290 กิโลเมตร BASSLINK ระหว่างแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลียและแทสเมเนีย
  • การส่งแบบ ต้นทาง-ปลายทาง ลากยาวโดยไม่มี 'taps' กลางทาง ปกติจะใช้เชื่อมโรงผลิตไฟฟ้าห่างไกล กับกริดหลักโดยตรง ตัวอย่างเช่นระบบการส่งแบบ DC ที่แม่น้ำเนลสัน
  • การเพิ่มความจุของกริดพลังงานที่มีอยู่แล้ว ในสถาณะการณ์ที่การวางสายเพิ่มเป็นการยากหรือราคาแพงที่จะติดตั้ง
  • การส่งพลังงานและการรักษาเสถียรภาพระหว่างเครือข่าย AC ที่ไม่สัมพันธ์กัน, เช่น การที่สามารถถ่ายโอนพลังงานระหว่างประเทศที่ใช้ AC ที่ความถี่ที่แตกต่างกัน เนื่องจากการถ่ายโอนดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในทั้งสองทาง, มันจะเพิ่มความเสถียรของทั้งสองเครือข่ายโดยการอนุญาตให้เครือข่ายหนึ่งดึงพลังงานอีกเครือข่ายหนึ่งในกรณีฉุกเฉินหรือกรณีระบบล้มเหลว
  • การรักษาเสถียรภาพ AC power-grid ที่มีความสำคัญยิ่ง, โดยไม่ต้องเพิ่มระดับคาดการณ์ล่วงหน้าความผิดปกติที่อาจจะเกิด (ไฟฟ้าลัดวงจร)

ระบบสายเคเบิล

สำหรับเคเบิลใต้ท้องทะเลหรือใต้ดิน ไฟฟ้าแรงสูงมีสภาวะค่าความเก็บประจุไฟฟ้าสูงเมื่อเทียบกับสายเคเบิลที่แขวนอากาศ, เนื่องจากตัวนำไฟฟ้าที่มีกระแสไหลภายในสายเคเบิลถูกล้อมรอบโดยชั้นบางๆของฉนวนไดอิเล็กทริก, และเปลือกโลหะ ทำให้มีสภาวะเหมือนกับเป็นตัวเก็บประจุบนแกนร่วมยาวๆ ค่าการเก็บประจุ (อังกฤษ: capacitance) จะเพิ่มตามความยาวของสายเคเบิล ทำให้เหมือนกับมี capacitor คร่อมโหลด เมื่อใช้เคเบิลส่งพลังงานกระแสสลับ กระแสส่วนหนึ่งจะชาร์จประจุเข้าไปในคาร์พาซิเตอร์เสมือนนั้น ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อนในตัวนำในเคเบิล ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น การสูญเสียพลังงานยังเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจาก dielectric loss ในฉนวนของเคเบิลอีกด้วย

แต่ถ้าใช้กระแสตรง สภาวะตัวเก็บประจุในสายเคเบิลจะถูกชาร์จก็ต่อเมื่อสายเคเบิลถูก energized ในครั้งแรกหรือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าเท่านั้น; ไม่มีกระแสเพิ่มเติมอีก. สำหรับเคเบิลใต้น้ำยาวๆและใช้ไฟ AC ความสามารถในการนำกระแสทั้งหมดของตัวนำจะถูกใช้ไปในการจ่ายกระแสเพื่อชาร์จตัวเก็บประจุในสายเคเบิล ส่วนนี้เป็นตัวจำกัดความยาวและความสามารถในการนำพลังงาน AC ของตัวเคเบิล แต่ DC เคเบิลจะถูกจำกัดด้วยอุณหภูมิและกฏของโอห์ม ถึงแม้ว่าจะมีกระแสรั่วไหลในฉนวนไดอิเล็กทริก แต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับอัตราทนกระแสของเคเบิล

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสภาเดียว